กราบสักการะพระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เมืองพิษณุโลก


กราบสักการะพระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เมืองพิษณุโลก



ภายในวิหาร



เมื่อมีโอกาสเดินทางผ่านเมืองพิษณุโลก สิ่งสำคัยอย่างหนึ่งที่พวกเราไม่ควรพลาด นั่นคือ การกราบสักการะพระพุทธชินราช ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือวัดใหญ่ ที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล สถานที่นี้เป็นพระอารามหลวงที่สำคัญของจังหวัด เพราะเป็นศูนย์รวมจิตใจชองชาวไทย


                                      รายงานโดย วิชิรพล  จันดา






     





"วันอาทิตย์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 อาจารย์ ดร.เวียงคำ  ชวนอุดม อาจารยืประจำรายวิชา 428333 แหล่งท่องเที่ยวตามประวัติศาสตร์ไทย (Historical Sites in Thai History) ได้นำนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เอกประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว หลักสูตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ไปเรียนรู้นอกสถานที่ ที่จังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร  เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวตามยุคสมัยประวัติศาสตร์นอกสถานที่ ถือได้เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง และระหว่างเดินทางกลับ ได้แวะกราบสักการะพระพุทธชินราช เพื่อความเป็นสิริมงคล"

วัดนี้มีชื่อเต็มว่า "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" ชาวบ้านส่วนใหญ่คุ้นเคยและมักเรียกว่า "วัดพระศรี" หรือ "วัดใหญ่" ในวิหารที่พระประธานองค์ใหญ่ประดิษฐาน คือ "พระพุทธชินราช" และสถานทีแห่งได้กลายเป็น สถานที่แห่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ความศรัทธา ของชาวไทยและชาวต่างชาติ



โดยมีสถานที่ ที่เป็นจุดเด่นภายในวัดดังนี้


พระพุทธชินราช
1. พระพุทธชินราช 
เป็นพระพุทธรูปหล่อดำสำริด ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หล่อในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) ซึ่งได้สร้างพระพุทธชิราชพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาฐานชุกชีปั๊มเป็นรูปบัวคว่ำ บังหงาย เดิมไม่ได้ลงรักปิดทอง ได้มีการปิดทองครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถคราวเสด็จพระราชดำเนินมา นมัสการ พระพุทธชินราช เมื่อ พ.ศ. 2146 พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปองค์ประธาน ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร และถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทย เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นรูปเปลวเพลิง มีลักษณะพิเศษเรียกว่าทีฆงคุลี คือที่ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่นิ้วยาวเสมอกัน 



    



ซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักสร้างในสมัยอยุธยา แกะสลักเป็น "มรก" (ลำตัวคล้ายมังกรแต่มีงวงคล้ายช้าง) อยู่ตรงปลายซุ้ม และมีลำเหรา (คล้ายจรเข้) อยู่ตรงกลางซุ้ม มีเทพอสุราปกป้องพระองค์อยู่สองตน คือ ท้าวเวสสุวัณ และอารวกยักษ์ในตำนาน การสร้าง พระพุทธชินราช ในสมัยพระยาลิไทพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โดยใช้ช่างจากเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองหริภุญชัย ในการเททองปรากฏว่าหล่อได้สำเร็จเพียงสององค์ ส่วนพระพุทธชินราชทองแล่นไม่ตลอด ต้องทำพิมพ์หล่อใหม่ถึงสามครั้ง ครั้งสุดท้ายพระอินทร์ได้แปลงกาย เป็นชีปะขาวมาช่วยเททองหล่อ จึงหล่อได้สำเร็จบริบูรณ์







2. พระอัฏฐารส
เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุศิลปะสมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นหลักฐานโบราณสถานสำคัญเพียงชิ้นเดียวที่ยังคงเหลือรูปแบบสถานปัตยกรรมที่แสดงถึง ความเก่าแก่ของวัด ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านหน้าองค์พระปรางค์ ตรงบริเวณฐานชุกชีมีองค์พระอัฏฐารสประทับยืนประทานพร สูง 18 ศอก หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวา ยกขึ้นเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงมาข้างพระกาย เบื้องพระปฤษฏางค์ ก่อผนังปูนหนา มีเสาไม้คำยันไว้ 2 ตัน สันนิษฐานว่าของเดิมทำเป็นบันได้สำหรับขึ้นไปสูงจนถึงศอ


พระอัฏฐารส


3. พระพุทธรูป 3 องค์
ในการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ตามตำนานมีการแย้งกันอยู่ 2 นัย นัยหนึ่งว่าสร้างเมื่อ พ.ศ 1500 อีกนัยหนึ่งกล่าวว่าสร้างราว พ.ศ. 1900 และจากหลักฐานหนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า "ในปี พ.ศ. พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏกหรือพระมหาธรรมราชาลิไท หลังจากสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์ต้องการจะสร้างพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ เพื่อเป็นพระประธานในวิหาร  พระองค์ได้พราหมณ์ฝีมือดีถึง 5 คน คือ บาอินทร์ บาพราหมณ์ บาพิษณุ บาราชสิงห์ และบาราชกุศล ทรงขอช่างฝีมือดีจากเมืองศรีสัชนาลัย สวรรคโลก รวมทั้งช่างฝีมือเอก จากเมืองเชียงแสงและเมืองหริภุญชัยมาช่วยกันหล่อพระพุทธรูปทั้งสมองค์" โดยที่พระพุทธรูปทั้งสามองค์เป็นพระปางมารวิชัย

ที่มาของภาพ : http://www.museumthailand.com/th/3036/storytelling/พระพุทธรูปแฝด-3/


พระเจ้าเข้านิพาน
4. พระเจ้าเข้านิพาน
ประดิษฐานในวิหารมีลักษณะเป็นหีบทอง ซึ่งทำจากศิลาลงรักบิดทอง ประดิษฐานพระบรมศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่บนจิตกาธาน ที่ปลายหีบทางด้านใต้มีพระพุทธบาทคู่ยื่นออกมานับว่าเป็นพระพุทธรูปปางพิเศษที่มีความแตกต่างจากปางอื่น เป็นพุทธปาฏิหาริย์ยื่นพระบาทออกมาให้พระมหากัสสปะเถระ ได้ถวายบังคมเป็นครั้งสุดท้ายรอบพระจิตกาธาน มีรูปพระพุทธสาวก 5 องค์ นั่งชันเข่าประนมมือมีปลงธรรมสังเวช 

ด้านท้ายวิหารยังประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย 3 องค์ วิหารตั้งอยู่ด้านหน้าของวิหารพระศรีศาสดา ลักษณะวิหารเป็นทรงโรงสมัยอยุธยาขนาดเล็กมี 4 ห้อง หลังคามีชั้นเดียว มีปีกนกมุงด้วยกระเบื้องเกล็ดพระยานาด ด้านหน้ามีประตูเข้าออก 2 ประตู ด้านข้างวิหารหน้าต่างด้านละ 3 คู่ นับว่าเป็นศิลปะที่หาดูยากเพราะมีแห่งเดียวในประเทศ







5. พระปรางค์
พระปรางค์
พระปรางค์วัดใหญ่เป็นทรงดอกบัวตูม หรือพุ่มข้าวบิณฑ์ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ สมัยอยุธยาตอนต้น พิษณุโลกได้เป็นเมืองหลวงถึง 25 ปี จึงทำนุบำรุงพุทธศาสนานำเอาศิลปะแบบอยุธยาเข้ามาสร้างให้มีเอกลักษณ์เพื่อเป็นขอบเขตอาณาจักร สัญลักษณ์ ขอบเขตที่เป็นพื้นที่ ที่ห้ามลุกลานเจดีย์จึงได้บูรณะปรับปรุงให้เป็นพระปรางค์ตามยุคสมัยเป็นพระปรางค์ทรงคล้ายฝักข้าวโพด มีการซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงโดยการบูรณะตามยุคสมัยกาลเวลา เช่น การนำเอากระเบื้องโมเสทที่ฉาบด้วยทองไปปิดทำให้เกิดความสวยงาม เรียก "นพเก้า" ลอกปูนที่หมดอายุนำเอาปูนปั้นรูปพญาครุฑยุดนาคลงทั้ง 12 ตน และนำครุฑที่เรียกว่าครุฑพาห์ทิศละ 1 ตน และยักษ์พระเวสสุวัณทิศละ 6 ตน สี่ทิศด้วยกัน









6. หลวงพ่อโต และพระอุโบสถ
เป็นพระพุทธรูปปั้นขนาดนั้นใหญ่ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สูง 2 วา 3 ศอก 6 นิ้ว มีพระพักตร์กลมป้อม งดงาม มีพระอุณาโลมและพระเกสเปลวเพลิงยาว ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระปรางค์ มีขนาด 5 ห้อง สถาปัตยกรรมทรงโรง สมัยอยุธยา รอบพะอุโบสถมีกำแพงแก้วล้อม มีใบเสมาหินชนวนคู่ตั้งอยู่บนฐานเสมา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัย ในรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่1 และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญในกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในยังมีภาพจิตรกรรมพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่สวยงาม


หลวงพ่อโต
พระอุโบสถ
  


ข้อควรปฏิบัติ : ควรแต่งกายสุภาพ ผู้หญิงไม่ควรนุ่งสั้นและใส่เสื้อแขนกุด ภายในวิหารมีคนค่อนข้างมาก ห้ามยืนถ่ายรูปโดยเด็ดขาด สามารถนั่งถ่ายรูปได้


การเดินทาง 

- เดินทางมาบนถนนหมายเลข 11 หรือ 17 มุ่งตรงเข้าไปยังตัวเมืองพิษณุโลก จากนั้นใช้เส้นทางมาหมายเลข 12 ถนนพิษณุโลก - หล่มสัก มุ่งตรงไปเส้นทางไปศาลากลาง ถ้ามาทางหมายเลข 11 ก่อนข้ามสะพานแม่น้ำน่านวัดตั้งอยู่ ขวามือ ถ้ามาทางหมายเลข 117 ข้ามแม่น้ำน่านมาวัดตั้งอยู่ซ้ายมือ
- ที่ตั้ง : 92/3 ถ. พุทธบูชา ต.ในเมืองพิษณุโลก พิษณุโลก 65000

การเข้าชม
- เวลาทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06:30-18:00 น.
- ช่วงเวลาเที่ยวชม : ตลอดทั้งปี
- ค่าเข้าชม : ไม่มีค่าเข้ามชม




อ้างอิง

MUSEUM THAILAND. พระพุทธรูปแฝด 3 พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2562, จาก http://www.museumthailand.com/th/3036/storytelling/พระพุทธรูปแฝด-3/

Emagtravel. วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร พระพุทธชินราช พิษณุโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562, จาก https://www.emagtravel.com/archive/watprasri-phitsanulok.html

PHITSANULOK HOTNEWS. พระปรางค์วัดใหญ่. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2562, จาก https://www.phitsanulokhotnews.com/2013/02/21/32475

MGR ONLINE. ดูของดีที่ "วัดใหญ่" ไหว้พระพุทธชินราชคู่เมืองสองแคว. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2562, จาก https://mgronline.com/travel/detail/9530000011904




ภาคผนวก

พระอัฏฐารส

รอบวิหาร




Comments